วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

คืออุปกรณ์ทำหน้าที่บวก ลบ คูณ หาร หรือ คิดเมื่อได้รับคำสั่ง
ความเร็วในการคิดขึ้นกับชิพ หรือสัตว์ที่ใช้ขับเคลื่อน รุ่น 386
เคลื่อนด้วยหอยทาก รุ่น 486เคลื่อนด้วยหนอน และรุ่น 586 ใช้ตัวตุ่น

เครื่องพิมพ์ (Printer)

หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้หัวร่อมิได้ร่ำไห้มิออก บางคนเรียก
ตัวกินกระดาษโครงสร้างสำคัญของพรินเตอร์มีเพียง 3 ส่วน คือ
หนึ่ง ฝาครอบ สอง ช่องป้อนกระดาษที่ติดขัดตลอดปี
และสายไฟกะพริบสีแดงบอกว่าเครื่องพิมพ์ขัดข้องตลอดปีเช่นกัน
นิสัยเฉพาะของพรินเตอร์คือ ไม่ชอบพิมพ์สิ่งที่สั่งให้พิมพ์
ชอบพิมพ์สิ่งที่เราไม่ได้สั่งให้พิมพ์ และดื้อด้าน ไม่ยอมหยุดเมื่อเราสั่งให้หยุด


หน่วยความจำหรือเมโมรี (Memory)
มันคือส่วนที่ฉลาดที่สุด แต่จากการกระทำมันโง่ที่สุด
อะไรไม่ได้สักอย่างถนัดแต่โต้เถียงและชอบโยนความผิดให้อุปกรณ์ตัวอื่นที่ไม่มี
ปากเสียง เมโมรีเป็นอาหารชั้นดีของไวรัส


คู่มือการใช้เครื่อง (Reference Manual)
วัตถุหนา เหมาะที่จะใช้รองใต้จอมอนิเตอร์
เพื่อยกจอให้อยู่ระดับสายตา
ภาษาที่ใช้เขียนคู่มือ นิยมใช้ภาษาบาลีและขอม
จึงต้องศึกษาทางธรรมมากๆจึงจะไม่คลุ้มคลั่งเวลาอ่าน
Digital cash

วิธีการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสด
Digital signature

ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์
Disk drive = ช่องใส่ดิสก์
E – banking (electronic banking)

ระบบการทำธุรกรรมต่างๆกับธนาคารผ่านทางอินเตอร์เน็ต
E – book (electronic book)

เป็นหนังสือออนไลน์สามารถดาวน์โหลดมาอ่านผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
E – business ( electronic business) = ธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต
Cipher = การเข้ารหัสที่ใช้เปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปข้อมูลที่มีการเข้ารหัสแล้ว

Client = ผู้ขอใช้บริการ

Compile = การแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรม

Cybernaut = นักท่องอินเทอร์เน็ต

Data bank = คลังข้อมูล,ธนาคารข้อมูล

Data transfer = การเคลื่อนย้ายข้อมูลภายในระบบคอมพิวเตอร์
Boot = การนำระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำ


Browse = ค้นหารายการแฟ้มข้อมูล


Browser = โปรแกรมเบราเซอร์,โปรแกรมระบบงานที่ใช้เพื่อค้นหาทรัพยากรต่างๆในอินเทอร์เน็ต


Buffer = ที่พักข้อมูลชั่วคราว
EEPROMEEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory

หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไข
หรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง
โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM
ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล
การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถ
เลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัด
ขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง
รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory)
ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล


EPROM EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม

คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอม
สามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยา
กับชิพหน่ว ยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูล
จะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท ่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณ
รังสีอุลตร ้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้


Cache Memoryคือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอร์
(Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้
เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคช
ทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น
ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง

Chipset คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงาน
ของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX
สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus)
แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม
หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
(Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด,
กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด



Clustering หมายถึงการเชื่อมระบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วยกัน
เพื่อเพิ่มกำลังและความสามารถในการประมวลผล ซึ่งอาจเทียบเท่า
ระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือสูงกว่า ก็ได้ สำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อน
โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย คือถูกกว่า
เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์จริงๆ แต่ข้อเสียคือยุ่งยาก



DDR SDRAM DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ
ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว
สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ)
และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูล
ได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติ
ที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว


DRAM Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ
ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ
หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ
เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่าย
ของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูล
ในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

DVD+RWDVD+RW เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด,
มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable
และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW
ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW
มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่น
ที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R

ไม่มีความคิดเห็น: